เชื่อมใจกันด้วยเสียงเพลง 

ผ่านประสบการณ์ด้านดนตรีกับเดียร์ สุคณัชญ์

ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรางวัลคอนดักเตอร์ยอดเยี่ยม

 ในรายการแข่งขันขับร้องประสานเสียง โรงเรียนในเครือสารสาสน์ ปี 2562

บทความโดย สุคณัชญ์ โพธิ์ศรีสุข 

บรรณาธิการ เบญญาภา พารักษา

07/07/2020 

สวัสดีครับ ผม เดียร์ สุคณัชญ์ โพธิ์ศรีสุข ปัจจุบันเป็นครูสอนขับร้องประสานเสียงที่โรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล้าครับ วันนี้ผมอยากจะมาแชร์ประสบการร์ของผม สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนจบในด้านดนตรีอย่างผม ขอเลือกตอบคำถามนี้ในแบบการบอกเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองดี กว่าครับ

ย้อนกลับไปสมัยผมยังเป็นเด็ก ผมเป็นคนชอบร้องเพลงมาก การร้องเพลงเป็นสิ่งที่ช่วยจรรโลงใจไม่ว่าในยามที่ผมเศร้า หรือมีความสุข ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำดี ๆ ของผมมาโดยตลอด ผมมีโอกาสได้รู้จักกับบทเพลงขับร้องประสานเสียงเพลงแรกในชีวิต คือ เพลง ‘Zadok the priest’ ประพันธ์โดย George Frederic Handel (1685-1759) ซึ่งได้ยินผ่านช่องสถานีเพลง Classic บนเครื่องบินโดยบังเอิญระหว่างการเดินทางจากไทเป ไต้หวัน ไปยัง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อกล่อมตัวเองให้หลับ ช่วงต้นเพลงมีการบรรเลงนำมาโดยวง Orchestra ที่ค่อย ๆ ดังขึ้นทีละนิด ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเดินขึ้นบนยอดเขา พร้อมแสงอาทิตย์ที่กำลังจะขึ้นฟ้า แสงสว่างค่อย ๆ สาดส่องผ่านใบไม้ทีละนิดทีละนิด…ตู้ม! ‘Zadok the priest!!’ ทำเอาผมสะดุ้งตื่นเลยครับ ฮ่าๆ 😃 

นับเป็นจุดเริ่มของการเข้าสู่วงการขับร้องประสานเสียงของผม

ในช่วงที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับว่าเป็นความโชคดีมากของผมที่มีจัดกิจกรรม ชุมนุมขับร้องประสานเสียง หรือที่เรียกว่า TU Chorus ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของนักศึกษาที่มีความสนใจในการร้องเพลง โดยมี ผศ. ดร. ชนนาถ มีนะนันทน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  ซึ่งหน้าที่ของพวกผมก็คือ การทำหน้าที่เป็นนักร้องให้กับงานพิธีการหรือแม้กระทั่งคอนเสิร์ตของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งชุมนุมของนักศึกษาที่มีความสนใจในการร้องเพลงครับ (ที่เรียกว่า "ชุมนุม" เพราะ โห..สมาชิกเยอะมากจริง ๆ ) มองย้อนกลับไปก็ขำตัวเองนะ😃เพราะว่า ไม่ได้เป็นเหมือนที่คิดเลย คือตอนผมเป็นเด็ก ผมก็ยังร้องเสียงสูงได้ไง แต่พอโตมาเนี่ย…. ‘ร้องไม่ถึงครับฮ่า ๆ🤣’ ซึ่งนั้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจเข้าวงขับร้องประสานเสียง เพราะว่า ‘เออ! อย่างน้อยเราได้ร้องเพลง ในโน้ตที่ไม่ได้สูงจนเกินไป คนแต่งเพลงเขาคงแต่งโน้ตมาเหมาะกับเราแล้วแหละ’ 

รูปผมถ่ายคู่กับศิษย์เก่าจาก TU Chorus

งาน 6th International Choir Festival Baden สถานที่ Oetigheim Open-Air Theatre, Germany

"In Thai National"  Concert ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 

อีกก้าวกระโดดครั้งสำคัญของผมคือ การเป็นส่วนหนึ่งของคณะนักร้องประสานเสียง The Bangkok Voices ในปีพ.ศ. 2550 ครั้งนั้นผมมีโอกาสได้ไปดูวง The Voices (ชื่อเดิม) ใน The Concert Celebration ที่จัดขึ้นที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผมจำได้ว่า ตอนนั้นประทับใจกับบทเพลง The Circle of Life เรียบเรียงโดย ชาวฟิลิปปินส์ Anna Abeleda-Piquero เป็นอะไรที่ตื่นตาตื่นใจมาก เอาใจไปเลยครับ👍 (นั้นเป็นคอนเสิร์ตแรก และคอนเสิร์ตสุดท้ายในฐานะผู้ฟังของผม จนกระทั่งวันนี้) การเข้ามาอยู่ The Bangkok Voices ทำให้ผมได้เจอเพลงโหด ๆ ร้องเพลงในโน้ตที่ต่ำแบบต่ำมาก (บางครั้งผมก็คิดนะว่า ‘เอ่อ มีคนร้องได้ด้วยหรอวะ…🙃’)     อีกอย่างหนึ่งที่ผมได้รับคือ พวกผมเป็นอีกหนึ่งในตัวแทนนักร้องจากประเทศไทยในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่เวทีโลก นับเป็นความภาคภูมิใจของผมในฐานะศิลปินชาวไทย และครูสอนขับร้องประสานเสียงครับ

จริง ๆ แล้ว อยากจะเล่าต่อนะครับ แต่ผมว่ามันอาจจะยาวเกินไป เกรงใจบก. เขา (บก. เองจ้า : ‘ใช่ค่ะ ตัดออกไปเยอะมากก กอ ไก่ล้านตัวค่ะ’) เอาเป็นว่า ความหมายของการขับร้องประสานเสียงสำหรับผมในตอนนั้น และ ณ ตอนนี้ ไม่ใช่แค่การร้องเพลง แต่เป็นการสร้างความสามัคคีให้กับหมู่คณะหรือสังคม โดยใช้ดนตรีเชื่อมต่อกัน นับเป็นความทรงจำที่มีค่าสำหรับผมครับ แล้วการขับร้องประสานเสียงสำหรับคุณเป็นอย่างไรบ้างละ? 

ยังไง ผมฝากติดตามบทความครั้งต่อไปของ The Bangkok Voices ด้วยนะครับ 

สวัสดีครับ

ติดตาม The Bangkok Voices ได้จากช่องทาง  :