บทเรียนชีวิตของเภสัชกร ผู้มีดนตรีอยู่ในหัวใจ

ปั้นหยา ศิลป์วาณิช

บทความโดย ศิลป์วาณิช ยศแก้ว

บรรณาธิการ เบญญาภา พารักษา

24/07/2020

สวัสดีค่ะ เราชื่อ ปั้นหยา ศิลป์วาณิช ยศแก้ว ปัจจุบันเป็นเภสัชกรอยู่ที่ องค์การเภสัชกรรมและเป็นหนึ่งในสมาชิกวง The Bangkok voices มาได้เป็นเวลา 2 ปี เรามีคำถามอยากให้ทุกคนได้ลองคิด “อะไรทำให้เราเป็นเราในทุกวันนี้?” สำหรับตัวเราแล้ว การเป็นส่วนหนึ่งของการขับร้องประสานเสียงมีอิทธิพล และกำหนดจุดเปลี่ยนของชีวิตเราในหลาย ๆ แง่มุม วันนี้เลยอยากมาแบ่งปันจุดพลิกผันในชีวิตกับการร้องประสานเสียงตั้งแต่วักระเตาะจนถึงปัจจุบัน ระหว่างที่ทุกคนกำลังตอบคำถามนี้อยู่ในใจนะค 😃 

บทเรียนที่ 1 ‘Passion มาเต็มกระเปาะเลย'

ก่อนสอบเข้าชั้นมัธยม โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย  เราได้ยินชื่อเสียงเกี่ยวกับวงประสานเสียงของโรงเรียนนี้มาพอสมควร ตอนนั้นเราก็ลังเลระหว่าง     การออดิชั่นเข้าวงโยทวาทิตกับวงขับร้องประสานเสียง ซึ่งสุดท้ายเราก็เลือกเข้าวงประสานเสียง ซึ่งสำหรับเราซึ่งมีพื้นฐานทางด้านดนตรีมาตั้งแต่เด็กบ้างก็เลยออดิชันผ่านมาได้ฉลุย ณ ตอนนั้นเราอินโนเซ้นท์กับการร้องประสานเสียงมาก เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลยยยยย...  😃

 ‘เพลงแรกที่ได้ซ้อมกับรุ่นพี่

คือ You light up my life

จำได้ว่าตอนนั้น ขนลุกอ่ะ’

ตอนนั้นเป็นความตื่นตาตื่นใจแรกกับการร้องประสานเสียง เราประทับใจมากจนแอบเอาโน๊ตจากในห้องซ้อมมาซีรอกซ์เก็บเอาไว้ดูเล่น ตอนนั้นก็ถือว่า passion และแรงบันดาลใจมาเต็มกระเปาะเลย🤣

รูปสมัยเรียนอยู่รงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

บทเรียนที่ 2 ‘โอกาสที่ได้มาจากความพยายาม’

รูปจากงานที่ Xi'an China International Choral Festival 2018

ปกติแล้ววงประสานเสียง Wattana Girls’ Chorus จะมีการไปแสดงเพื่อแลกเปลี่ยน หรือแข่งขันขับร้องประสานเสียงที่ต่างประเทศ ซึ่งคนที่ได้มีสิทธิไปก่อนจะเป็นรุ่นพี่ปีสูง ๆ โอกาสน้อยมากที่น้อง ม. 1 จะได้ไป ดังนั้นจึงต้องมีการคัดเลือกโดยการสอบ Ear Training และสอบร้อง Quartet ครั้งแรกในชีวิต และ… 

‘YEAH!! เราได้เป็น 1 ใน 10 คน

ที่ได้ไปร่วมงานกับพี่ ๆ คนอื่น

ในต่างประเทศเป็นครั้งแรก!!!’

หนูต้องขอขอบคุณ อ. สถิตย์ สุกจงชัยพฤกษ์ สำหรับโอกาสและ ความเมตตาในครั้งนั้นมาก ๆ นะคะ หนูยังระลึกถึงอาจารย์อยู่เสมอ ถือเป็นแรงบันดาลใจหนึ่งในการร้องประสานเสียงของหนูเลยค่ะ

บทเรียนที่ 3 ‘อ้วนเป็นหมู เราก็ยอม'

รูปสมัยเป็นพี่เชียร์  ที่มหาวิทยาลัศิลปากร

ภาพจากหนึ่งในงานคอนเสิร์ตในประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2019

การที่เราได้มาอยู่ในวง Bangkok voices ในช่วงวัยทำงาน เราต้องขอขอบคุณ พี่เดียร์ สุคณัชญ์ ซึ่งพี่เขาเป็นนักร้องประสานเสียงใน Bass part ของวง The Bangkok Voices ที่รับโทรศัพท์ (แทบจะในทันทีที่โทรออก 555) จนหนูได้ออดิชั่นและมาเป็นส่วนหนึ่งของวงนี้ สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือ ทักษะของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การมาอยู่วงนี้แม้ว่าเราจะเคยมีพื้นฐานมาบ้างแล้ว แต่การไม่ได้อยู่คลุกคลีกับการร้องประสานเสียงมาเป็นเวลา 6 ปี (ช่วงเป็นพี่เชียร์การใช้เสียงจะเป็นคนละสไตล์กับการร้องเพลงในโบสถ์ หรือ Classic) 👍

 ‘ทำให้ เราต้องขุนตัวเอง

เหมือนขุนหมูให้อ้วน 555555’

คือ มันกดดันมากนะะะ เราไม่รู้จักใครเลยในวง เลยทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเองอยู่พักใหญ่ 


ในปีแรกถือเป็นช่วงที่โอกาสหลั่งไหลเข้ามาจนเราตั้งตัวแทบไม่ทันทริปหนึ่งที่น่าจดจำคือ ทริปของประเทศเยอรมนี รู้สึกว่าคนชาวยุโรป เขามีความรักความผูกพันในการร้องประสานเสียงแบบสุดใจขาดดิ้น คือแบบเราไม่เคยเห็นบรรยากาศการแสดงในโรงละครแบบ Outdoor ที่นั่งจุคนได้ 1000 กว่าคนแล้วคนนั่งเต็มทุกที่นั่ง แบบ ‘เห้ยยยย หลายคอนเสิร์ตเมืองไทยเรายังไม่เท่านี้เลย’  

บทเรียนไม่สุดท้าย ‘เพราะเราคือ ตุ๊กตาล้มลุก’

ติดตาม The Bangkok Voices ได้จากช่องทาง  :

ทุกคนในวง The Bangkok Voices เรานับถือความสามารถมาก ทุกคนมีความรู้และประสบการณ์ที่ดี มีใจรัก จนสามารถทำให้ชาวต่างประเทศและคนไทยที่ชื่นชอบการประสานเสียงยอมรับได้ เราได้ความรู้เพิ่มมาอีกหลาย ๆ อย่างทางด้านดนตรีที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อนจากการแบ่งปันของพี่ ๆ เพื่อน ๆ สมาชิกในวง ทักษะการแต่งหน้าแต่งตัวให้ดูเลอค่า และอีกนานานับประการ👍

 ที่สำคัญมันทำให้เราได้ ทักษะที่มีค่าสำหรับการใช้ชีวิตของมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง คือ “Resiliences” หรือ การที่เราเจอปัญหาประดังประเดเข้ามาแล้ว เรายังเด้งกลับมาเป็นเรา และ Be Strong อยู่ได้ในทุกวันนี้เหมือนตุ๊กตาล้มลุกที่โดนชกและยังกลับมายืนได้สบาย ๆ

เอาละเป็นยังไงบ้าง เราเล่าเรื่องของตัวเองมาเยอะ แล้วผู้อ่านทุกคนละ 

'มีอะไรที่ประทับตา

และกระชากตัวตนให้เราเป็นเราในทุกวันนี้บ้าง?’